วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 17

วันอังคาร ที่ 25 เดือนกันยายน พ.ศ 2555

ความรู้ที่ได้รับ
          
             - อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคน แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับแท็บเล็ต ว่าแท็บเล็ตมีข้อดีข้อเสียยังไง โดยอาจารย์ให้หัวข้อมา 2 หัวข้อ คือ 
                    1. การใช้แท็บเล็ตในชั้นประถมศึกษามีขอดีและข้อเสียอย่างไร
                    2. การใช้แท็บเล็ตในชั้นอนุบาลมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง

             - อาจารย์สรุปข้อดีและข้อเสียของแท็บเล็ต
             - อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ "วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มีอะไรบ้าง"   ------>    - การบรรยายจากผู้สอน  สามารถเอาไปใช้กับตัวเองในชีวิตประจำวัน
                             - การวิเคราะห์  วิเคราะห์ในเนื้อหาที่สนในว่ามีประเด็นอะไร มีเนื้อหาสาระอะไรที่สำคัญบ้าง ในการวิเคราะห์อาจจะแตกองค์ความรู้ออกมาในรูปแบบของMind map
                             - การได้ลงมือปฏิบัติจริง
                             - การค้นคว้าเพิ่มเติมจากที่เรียนมา
                             - การสรุปความคิดให้เป็นแก่นของความรู้ที่ได้
                             - การมอบหมายงาน มีประเด็นว่าจะทำอะไร มีวัคถุประสงค์ว่าอย่างไร ส่งผลให้เกิดการวางแผนในการทำงาน
                             - การมีส่วนร่วม
                             - กระการในการแก้ปัญหา ในการแก้ปัญหาต้องหาว่าอะไรคือเหตุผล และจะแก้ปัญหาอย่างไร 
                             - การทดลอง  การลองผิดลองถูกจนได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง


                      

 งานที่ได้รับมอบหมาย
      - ให้ทำ Blogger ให้เรียนร้อย    
 

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555

        จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ฐาน เรื่อง แม่เหล็กมหัศจรรย์


ภาพการกิจกรรม 





วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 15

วันอังคาร ที่11 กันยายน พ.ศ. 2555



กิจกรรมในห้อง

                -อาจารย์ให้เตรียมงานที่ต้องจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เด็กอนุบาลที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
              -อาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์ เตรียมรายการ ป้ายชื้อ
              -มีกิจกรรมทั้งหมด 3 ฐาน 
              -เสียง
                       1).ลูกโป่ง
                       2).การเดินทางของเสียง
                       3).ระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง
              -การเปลี่ยนเเปลง
                       1).ปิ้ง/ย่าง
                       2).นึ่ง/ต้ม
                       3).ทอด
              -เเม่เหล็ก
                       1).ขั่วต่างดูด                                 
                       2).ขั่วเหมือนผลัก
                       3).ของเล่น

 



บันทึกครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 4 กันยายน 2555


ความรู้ที่ได้รับ

         - อาจารย์ แนะนำเทคนิควิธีในการจัดป้ายนิเทศ การจัดทำบอร์ดดอกไม้ ที่นักศึกษานำมาส่งแต่ละกลุ่ม
             - การวางแผนในการจัดป้ายนิเทศ การจัดไล่ดอก การจัดช่อดอกไม้
             - การวางใบ การจัดเข้ามุม ดอกไม้ต้องมี ใบเลี้ยง ใบรอง จะได้ดูเป็นธรรมชาติ
             - การนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้และอบรม มาใช้จัดในบอร์ด
             - การจัดต้องมีความทนทาน มีความแข็งแรง
             - ในการจัด มีทั้ง ดอกไม้  ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก เเละต้องสมดุล

กิจกรรมในห้อง

            - อาจารย์ให้ส่งสมุดเล่มเล็กที่ทำวิธีทำดอกไม้
            - อาจารย์ตรวจงานที่ให้ทำทดลองกลุ่ม
            - อาจารย์ให้จัดกิจกรรมในวันอังคารที่ 18 กันยายน 2555 เรื่อง
                     

                    1.เสียง                       - ลูกโป่ง
                                                        - การเดินทางของเสียง
                                                        - ระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง
                    2.การเปลี่ยนแปลง   - ปิ้ง/ย่าง (ขนมปัง)
                                                        - นึ่ง/ต้ม   (ขนมต้ม)
                                                         - ทอด      (เกี่ยว)
                    3.แม่เหล็ก                  - ของเล่น
                                                         - ขั่วต่างดูด
                                                         - ขั่วเหมือนผลัก

บันทึกครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม 2555

           - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำบอร์ดดอกไม้ส่ง โดยเอาความรู้ที่ได้จากการได้เข้าอบรมในวัน เสาร์และอาทิตย์มาใช้
           - อาจารย์ให้ทำขั้นตอนของการทำดอกไม้และใบไม้ ชนิดต่างๆ ลงในสมุดวาดเขียนเล่มเล็ก

  

บันทึกครั้งที่ 12


              * อบรม ทำดอกไม้กระดาษ

ในวันเสาร์ - อาทิตย์ ที่ 25 - 26 เดือน สิงหาคม 2555



บันทึกครั้งที่ 11

วัน เสาร์ ที่ 21 สิงหาคม 2555

          ความรุ้ที่ได้รับ
                 - อาจารย์ให้นักศึกษานั้งเป็นกลุ่ม แล้วให้ดูหนังสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วใช้แต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปหน่วยความรู้ในหนังสือได้ดังนี้



*งานที่ได้รับมอบหมาย
               อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนแล้วให้หากิจกรรมการทดลองมากลุ่มละ 
 1 เรื่อง

บันทึกครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 14 สิงหาคม 2555

             ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจทางราชการ
           ( อาจารย์สอนชดเชยในวัน อาทิตย์ ที่ 26  เดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2555 ) 





บันทึกครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 7 สิงหาคม 2555            

              

             *ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจทางราชการ

     เรียนชดเชยวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555

บันทึกครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 31 กรกฎาคม 2555

                                              * สอบกลางภาค

      

บันทึกครั้งที่ 7

วันที่่อังคาร 24 กรกฎาคม 2555




             ความรู้ที่ได้รับ
              -  อาจารย์ถามว่าถ้าจะออกไปทัศนะศึกษาข้างนอก แหล่งที่เป็นวทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง
                                1. ไบเทค บางนา  งานวิทยาศาสตร์
                                2.  ท้องฟ้าจำลอง
                                3.  หุ่นขี้ผึ้ง
                                4.  พิพิทธภัณฑ์เด็ก
                                5.  พิพิทธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน
                                6.   โอเชี่ยล

          

            ประโชยน์        1.  ได้ประสบการณ์ตรง
                                2.  เกิดความสนุกสนาน
                                3.  ได้ความรู้
                                4.  เกิดการใฝ่รู้   

                                                                 ------ เกิดความสงสัย
                                                                 ------   เกิดคำถาม
                                                                 ------    เกิดความอยากรู้อยากเห็น

บันทึกครั้งที่ 6


วันอังคาร ที่ 17 กรกฎาคม 2555

 ความรู้ที่ได้รับ
         -  มีการส่งงานที่ค้างสำหรับคนที่ยังไม่ส่ง
        -  ได้พูดถึงการเล่น  ว่าการเล่นเป็นเครื่องมือทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
        -  การที่ทำของเล่นขึ้นมา  แต่ละชิ้นเพื่อต้องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
        -  การฝึกให้เด็กทำสิ่ง ต่างๆ  เป็นการทำให้เด้กเรียนรู้การทำงานเป็นขั้นตอน  ได้ปฏิบัติจริง
        -  เราจะต้องรู้ว่าสิ่งที่เราจะไปทำกับเด็กให้เด็กเล่นนั้น  มันได้สะท้อนอะไรในความเป็นวิทยาศาสตร์
        -  มีการทบทวนเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานว่ามีอะไรบ้าง

กิจกรรมในห้องเรียน
          ให้ทุกคนในห้องแบ่งกลุ่ม  ตามหน่วยที่ตัวเองได้รับ  และช่วยกันทำ Mind Map  ว่าเราจะสอนเรื่องอะไรในแต่ละช่วงชั้น  อนุบาล 1  อนุบาล 2  และอนุบาล 3

บันทึกครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 10 กรกฎาคม 2555

             นำเสนอผลงาน ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เด็กๆสามารถทำได้ 2 ชิ้น
                      - ลูกปิงปอกระโดด
                      - แตรเป่า ปู้นๆ





            *ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
                      - ให้หาข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์  (ของเล่นที่ทำมาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร)

บันทึกครั้งที 4

วันอังคาร ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ความรู้ที่ได้รับ

              - ดูวีดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก
                 ความรู้ที่ได้
                               - อากาศร้อน เหงื่อก็จะออกมาทางผิวหนังทำให้อ่อนเพลีย ถ้าดื่มนำ้ก็จะชดเชยได้
                               - บนโลกของเรามีน้ำ 90 เปอร์เซ็น
                               - ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย

       



วัฏจักรน้ำ
กำเนิดทะเลและมหาสมุทร
          โลกของเราเกิดขึ้นพร้อมๆ กับดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว ก๊าซและฝุ่นรวมตัวก่อกำเนิดเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตขนาดใหญ่ตลอดเวลา (ภาพที่ 1) องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น โลหะ จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน และก๊าซต่างๆ ลอยตัวขึ้นสู่พื้นผิว บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก โลกจึงมีความอบอุ่นแม้ว่าดวงอาทิตย์จะยังมีขนาดเล็กก็ตาม

ภาพที่ 1 โลกในอดีต
          ในเวลาต่อมาโลกเริ่มเย็นตัวลง ไอน้ำที่แทรกซึมขึ้นมาจากเปลือกโลก ลอยตัวสูงขึ้น และเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำ ฝนในยุคแรกๆ ตกลงมาไม่ทันถึงพื้นก็ระเหยกลับเป็นไอน้ำไปหมด เนื่องจากพื้นโลกยังมีความร้อนสูงมาก จนกระทั่งโลกเย็นตัวลงอีกและเกิดฝนจำนวนมาก น้ำฝนละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาบนพื้นผิวโลก ทำให้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง น้ำฝนที่ตกลงมาสู่พื้นไหลรวมตัวกันกันในบริเวณที่ต่ำ เกิดเป็นแม่น้ำลำคลอง ไหลไปรวมกันในแอ่งที่ราบต่ำ กลายเป็นทะเลและมหาสมุทร ในช่วงเวลานั้นเริ่มเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในยุคแรกอาศัยอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร ดำรงชีวิตด้วยพลังงานเคมี และความร้อนจากภูเขาไฟใต้ทะเล จนกระทั่ง 2,000 ล้านปีต่อมา สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรวิวัฒนาการให้มีการสังเคราะห์แสง เช่น แพลงตอน และสาหร่าย ดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำทะเล มาสร้างน้ำตาล และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนออกมา องค์ประกอบของบรรยากาศโลกจึงเปลี่ยนแปลงไป ก๊าซออกซิเจนที่ทวีจำนวนมากขึ้น ลอยตัวสูง แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ปกป้องมิให้รังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์แผ่ลงมาถึงพื้นโลกได้ สิ่งมีชีวิตที่เคยอยู่ในมหาสมุทร จึงขยายพันธุ์อพยพขึ้นบนบกได้
ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน
          โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวของระบบสุริยะที่มีน้ำดำรงอยู่ครบทั้งสามสถานะคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ (ภาพที่ 2) โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 150 ล้านกิโลเมตร ด้วยระยะห่างขนาดนี้โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพียง 1,370 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ซึ่งทำให้โลกมีอุณหภูมิ –18ฐC แต่เนื่องจากบรรยากาศของโลกมีก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ โลกจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15ฐC ทำให้น้ำสามารถดำรงอยู่ได้ทั้งสามสถานะ (รายละเอียดอยู่ในบทที่ 3 พลังงานจากดวงอาทิตย์) 


ภาพที่ 2 โลก ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน

          พื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกปกคลุมด้วยน้ำในมหาสมุทร แม้ว่าจะมีน้ำอยู่อย่างมากมายบนโลก แต่น้ำจืดซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์กลับมีน้อยมาก หากสมมติว่าน้ำทั้งหมดบนโลกเท่ากับ 100 ลิตร จะเป็นน้ำทะเล 97 ลิตร ที่เหลืออีกเกือบ 3 ลิตรเป็นน้ำแข็ง มีน้ำจืดที่เราสามารถใช้บริโภคอุปโภคได้เพียง 3 มิลลิลิตร (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 เปรียบเทียบแหล่งน้ำบนโลก
วัฏจักรน้ำ
          แม้ว่าจะปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะอยู่ในทะเลและมหาสมุทร แต่น้ำก็มีอยู่ในทุกหนแห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำแม่น้ำ น้ำใต้ดิน น้ำในบรรยากาศ รวมทั้งเมฆ และหมอก นอกจากนั้นในร่างกายของเรายังมีองค์ประกอบเป็นน้ำร้อยละ 65 ร่างกายของสัตว์น้ำบางชนิด เช่น แมงกะพรุน มีองค์ประกอบเป็นน้ำร้อยละ 98 ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า น้ำ คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต เนื่องด้วยน้ำมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าสารประกอบอื่นๆ และมีปริมาณน้ำอยู่มาก น้ำจึงมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงบนเปลือกโลกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะต่อหิน ดิน บรรยากาศ หรือสิ่งมีชีวิต
ตารางที่ 1 แหล่งน้ำบนโลก
มหาสมุทร 97.2 % ทะเลสาบน้ำเค็ม 0.008 %
ธารน้ำแข็ง 2.15 % ความชื้นของดิน 0.005 %
น้ำใต้ดิน 0.62 % แม่น้ำ ลำธาร 0.00001 %
ทะเลสาบน้ำจืด 0.009 % บรรยากาศ 0.001 %
          แม้ ว่าพื้นผิวโลกส่วนใหญ่จะปกคลุมไปด้วยน้ำ แต่ถ้าเปรียบเทียบน้ำหนักของน้ำ กับน้ำหนักของโลกทั้งดวงแล้ว น้ำมีน้ำหนักเพียงร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักโลก อย่างไรก็ตามการหมุนเวียนของน้ำเป็นวัฎจักรก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เรื่องหนึ่งในการศึกษาระบบโลก ดวงอาทิตย์แผ่รังสีทำให้พื้นผิวโลกได้รับพลังงาน ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ 22 ทำให้น้ำบนพื้นผิวโลกไม่ว่าจะในมหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ หรือ ห้วย หนอง คลองบึง ระเหยเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซคือ ไอน้ำ ลอยขึ้นสู่บรรยากาศ อุณหภูมิที่ลดลงเมื่อลอยตัวสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะความชื้นสัมพันธ์ 100% จึงควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ ที่เราเรียกว่า เมฆ หรือ หมอก เมื่อหยดน้ำเล็กๆ เหล่านี้รวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักพอที่จะชนะแรงต้านทานอากาศ ก็จะตกลงมากลายเป็นหิมะหรือน้ำฝน หิมะที่ตกค้างอยู่บนยอดเขาพอกพูนกันเป็นธารน้ำแข็ง น้ำฝนที่ตกลงถึงพื้นรวมตัวเป็นลำธาร ห้วย หนอง คลองบึง หรือไหลบ่ารวมกันเป็นแม่น้ำ ธารน้ำแข็งที่ละลายเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่แม่น้ำ น้ำบนพื้นผิวโลกบางส่วนแทรกซึมตามรอยแตกของหิน ทำให้เกิดน้ำใต้ดิน และไหลไปรวมกันในท้องมหาสมุทร เป็นอันครบรอบวัฏจักรตามภาพที่ 4


ภาพที่ 4 วัฎจักรน้ำ

          วัฏจักรน้ำมิว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ในบรรยากาศ บนพื้นผิว หรือใต้ดิน ล้วนเป็นกลไกที่สำคัญของระบบโลก ไอน้ำที่ระเหยออกจากน้ำในมหาสมุทร ทิ้งประจุแร่ธาตุต่างๆ ทำให้มหาสมุทรมีความเค็ม ไอน้ำที่ระเหยขึ้นไปนั้นเป็นน้ำจืดบริสุทธิ์ แต่เมื่อไอน้ำควบแน่นเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน น้ำฝนละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ จึงมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิคอ่อนๆ ซึ่งทำปฏิกิริยากับหินบางชนิดโดยเฉพาะหินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ทำให้เกิดน้ำกระด้าง เนื่องจากน้ำเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นไปตามอุณหภูมิ น้ำจึงทำให้หินแตกได้ น้ำเป็นตัวละลายที่ดี จึงนำพาแร่ธาตุสารอาหารไปกระจายตามส่วนต่างๆ ของพื้นผิวโลก และสะสมตัวในดิน ทำให้พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งอาหารของสรรพสัตว์ ต้นไม้สังเคราะห์แสงเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอาหาร และปลดปล่อยออกซิเจนสู่บรรยากาศ พืชคายน้ำกลับคืนสู่บรรยากาศ สัตว์ควบคุมปริมาณต้นไม้ และปริมาณออกซิเจนโดยการหายใจคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แม่น้ำลำธารไหลพัดพาแร่ธาตุไปสะสมกันในท้องทะเลและมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโลก กระบวนการเปลี่ยนสถานะของน้ำเป็นกระบวนการสมดุลพลังงานของโลก

*งานที่ได้รับมอบหมาย
               
           1. อาจารย์ให้นักศึกษาไปถามที่โรงเรียนสาธิตราชภัฎจันทรเกษมว่าแต่วันมีสอนหน่วยอะไรบ้าง เมื่อได้หน่วยการเรียนรู้จากโรงเรียน แล้วให้ทำเป็น  Mind Map  ว่าเราจะสอนอะไร    (งานกลุ่ม)
          2. ทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเล่นเองได้ (จับคู่ 2 คน)
               - อุปกรณ์จะต้องเป็นเศษวัสดุเหลือใช้
               - ถ่ายรูปเป็นขั้นตอน
       

บันทึกครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

*ความรู้ที่ได้รับ 


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. พัฒนาการ มี 3 ปี , 4 ปี , 5 ปี

2. กระบวนการ
    2.1 กระบวนการเบื้องต้น 
          - สังเกต (ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
          - การวัด (หาปริมาณ)
          - จำแนกประเภท (ต้องหาเกณฑ์)
          - หาความสัมพันธ์มิติกับเวลา
          - การสื่อความหมาย
          - การคำนวน
          - พยาการณ์

    2.2 กระบวนการแบบผสม
         - ตั้งสมมติฐาน
         - กำหนดเชิงปฏิบัติการณ์
         - การกำหนดและควบคุมตัวแปร
         - ทดลอง
         - สรุป

3. วิธีการจัด
    3.1 เป็นทางการ 
         - รูปแบบการสอน (โครงการวิทย์)
         - มีจุดหมาย

    3.2 ไม่เป็นทางการ
           - มุมวิทยาศาสตร์
          - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
    3.3 จัดแบบตามเหตุการณ์
           - ธรรมชาติ
           - สิ่งที่พบเห็น 

4. การใช้สื่อ 
       -เลือกให้เหมาะสมกับสถานที่ , เนื้อหา , วิธีการเรียนรู้ , พัฒนาการ
       - เตรียมสื่อ
       - การใช้
       - ประเมิน
    

บันทึกครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับ

- อาจารย์ให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยถามว่า  คำว่า " รู้ "  มีอะไรบ้าง  จากการร่วมกันแสดงความคิดเห็นสามารถแตกออกมาเป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้


 - การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มีอะไรบ้าง


*งานที่ได้รับมอบหมาย

              งานชิ้นที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาไปหาข้อมูลพัฒนาการทางสติปัญญา ของเด็กอายุ 5 ขวบ ( ดูพัฒนาการด้านสติปัญญาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ) (งานเดี่ยว)
              งานชิ้นที่ 2 ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้ร่วมกันทำ Mine map  โดยให้เลือกเรื่องที่่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มา 1 เรื่อง แล้วให้ทำเป็น mine map เป็น 5 วัน


               งานที่ได้รับมอบหมาย (ทำแล้ว)
                งานชิ้นที่ 1 พัฒนาการทางสติปัญญาที่เป็นวิทยาศาสตร์  ของเด็กอายุ 5  ปี  มีดังนี้

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 1

วันอังคาร ที่ 12 มิถุนายน 2555


             อาจารย์ไม่สอน แต่ให้นักศึกษาเข้ามาเซ็นชื่อ และอาจารย์สั่งงานไว้ดังนี้
                      - ทำบล็อควิทยาศาสตร์
                      - ลิ้งค์มาตรฐานวิทยาศาสตร์ของ สสวท.
                      - ลิ้งค์รายชื่อเพื่อนในบล็อค
                      - ดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (เรื่องนึงซ้ำได้ไม่เกิน 3 คน)